เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

راشد بن حسين العبد الكريم

วันที่ :

Sat, Sep 24 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

มีอยู่ใน:

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 03


มารยาทในที่ชุมนุม และการนั่งรวมกัน (3)
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 


ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

 

2014 - 1435
 

 

من آداب المجلس والمجالسة (3)
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. راشد بن حسين العبد الكريم

 


ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر:  كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام  www.al-islam.com

 


2014 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
มารยาทในที่ชุมนุม และการนั่งรวมกัน (3)

ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِذَا كَانَ ثَلَاثَةٌ، فَلَا يَتَنَاجَى اثْنَانِ دُونَ وَاحِدٍ » [أخرجه مسلم]
“เมื่ออยู่กันสามคน คนสองคนก็จงอย่ากระซิบกัน โดยไม่บอกคนที่สาม”  บันทึกโดยมุสลิม

ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« لَا يَحِلُّ لِلرَّجُلِ أَنْ يُفَرِّقَ بَيْنَ اثْنَيْنِ إِلَّا بِإِذْنِهِمَا » [أخرجه الترمذي]
 “ไม่อนุญาตให้คนใดแทรกคนสองคน นอกจากได้รับอนุญาตจากคนทั้งสองเสียก่อน”  บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« مَنْ جَلَسَ فِي مَجْلِسٍ فَكَثُرَ فِيهِ لَغَطُهُ، فَقَالَ قَبْلَ أَنْ يَقُومَ مِنْ مَجْلِسِهِ ذَلِكَ: سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ، أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ، إِلَّا غُفِرَ لَهُ مَا كَانَ فِي مَجْلِسِهِ ذَلِكَ » [أخرجه الترمذي]
“ผู้ใดนั่งในที่ชุมนุมแล้วได้ แล้วเขาก็พูดเอะอะโวยวายไว้มาก แล้วเขาก็ได้กล่าวก่อนที่จะลุกออกไปจากที่ชุมนุมของเขานั้นว่า
“สุบหานะกัลลอฮุมมะ วะบิหัมดิกะ อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลาอันตะ อัสตัฆฟิรุกะ วะอะตูบะอิลัยกะ”
“มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน โอ้อัลลอฮฺ และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ฉันปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน ฉันขออภัยโทษต่อพระองค์ และขอสำนึกผิดกลับตัวไปสู่พระองค์”
นอกจากจะถูกอภัยให้เขาในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ที่ชุมนุนของเขานั้น”  บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ

คำอธิบาย
มารยาทในที่ชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีสุนนะฮฺไว้ เพื่อยับยั้งสิ่งต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน คือ ไม่ให้คนสองคนคุยกระซิบความลับกันโดยไม่บอกคนที่สามเมื่อในที่ชุมนุมมีเพียงสามคนเท่านั้น และเช่นกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการที่คนๆหนึ่งจะเข้าไปนั่งแทรกคนสองคน นอกจากจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน เพราะบางทีทั้งสองอาจกำลังมีเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ก็ได้ และมารยาทอีกประการหนึ่งคือให้จบการนั่งชุมนุมด้วยดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺ(สิ่งลบล้าง)การชุมนุม เพื่อที่จะลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ห้ามคนสองคนคุยความลับกันโดยไม่บอกคนที่สาม(เมื่ออยู่กันสามคน)
•    ห้ามนั่งแทรกคนสองคนที่นั่งกันอยู่ก่อนแล้ว นอกจากจะได้รับอนุญาตเสียก่อน
•    สมควรปิดท้ายการชุมนุมด้วยดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺการชุมนุม