เกี่ยวกับบทความ

ผู้เขียน :

أمين بن عبد الله الشقاوي

วันที่ :

Sun, Oct 23 2016

ประเภท :

Morals & Ethics

อัล-อะมานะฮฺ ความซื่อสัตย์


อัล-อะมานะฮฺ ความซื่อสัตย์
] ไทย – Thai – تايلاندي [

 

 


ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

 

แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน
ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรอร อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

 

2013 - 1435
 

 

الأمانة
« باللغة التايلاندية »

 

 


د. أمين بن عبدالله الشقاوي

 

ترجمة: عبدالصمد عدنان
مراجعة: يوسف أبوبكر
           المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

 

2013 - 1435
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

เรื่องที่ 120
อัล-อะมานะฮฺ (ความซื่อสัตย์)

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ได้รับการภักดีอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...
ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่มีความสวยงามและสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งอัลลอฮฺสุบหานะฮุวะตะอาลาได้ให้บรรดาเราะสูล และปวงบ่าวที่ศรัทธามั่นในพระองค์ได้มีคุณลักษณะแห่งความซื่อสัตย์ ดั่งที่ปรากฎในสูเราะฮฺอัล-เกาะศ็อศซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสถึงท่านนบีมูซาว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง
﴿ إِنَّ خَيۡرَ مَنِ ٱسۡتَئْجَرۡتَ ٱلۡقَوِيُّ ٱلۡأَمِينُ ٢٦ ﴾ [القصص  : 26]
ความว่า “แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์” ( อัล-เกาะศ็อศ : 26 )

และอัลลอฮฺยังได้ตรัสถึงท่านนบียูซุฟอะลัยฮิสสลามว่าท่านเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือยิ่ง
﴿ وَقَالَ ٱلۡمَلِكُ ٱئۡتُونِي بِهِۦٓ أَسۡتَخۡلِصۡهُ لِنَفۡسِيۖ فَلَمَّا كَلَّمَهُۥ قَالَ إِنَّكَ ٱلۡيَوۡمَ لَدَيۡنَا مَكِينٌ أَمِينٞ ٥٤ ﴾ [يوسف : 54]
ความว่า “และกษัตริย์ตรัสว่า จงนำเขามาหาฉันซิ ฉันจะแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ใกล้ชิดของฉัน เมื่อยูซุฟได้สนทนากับกษัตริย์แล้ว พระองค์กล่าวว่า แท้จริงเจ้าอยู่ต่อหน้าเราวันนี้ เป็นผู้มีตำแหน่งสูงเป็นที่ไว้วางใจ” ( ยูซุฟ : 54 )
    
และบรรดาเราะสูลทั้งหลายต่างก็เรียกร้องเชิญชวนกลุ่มชนไปสู่การเชื่อฟังต่อพวกเขา เนื่องจากอัลลอฮฺได้มอบความไว้วางใจต่อพวกเขาให้นำสาส์นของพระองค์มาเผยแผ่ ดังที่อัลลอฮฺได้เล่าถึงเรื่องราวดังกล่าวว่า
﴿ إِنِّي لَكُمۡ رَسُولٌ أَمِينٞ ١٧٨ فَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَأَطِيعُونِ ١٧٩  ﴾ [الشعراء  : 178-179]
ความว่า “แท้จริงฉันคือเราะสูลผู้ซื่อสัตย์สำหรับพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺและเชื่อฟังฉันเถิด” (อัล-ชุอะรออ์ : 178-179 )

ทั้งก่อนและหลังจากที่ท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะได้รับการแต่ตั้งให้เป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ ท่านเองได้รับความไว้วางใจจากผู้คนทั้งหลาย โดยที่พวกเขาต่างนำสิ่งของมาฝากไว้ให้ท่านดูแลรักษา ครั้นเมื่อท่านจะต้องอพยพท่านได้มอบหมายให้อะลีย์ -เราะฎิยัลลอฮุอันฮู-ส่งคืนของฝากเหล่านี้ให้แก่เจ้าของ และมะลักญิบรีลท่านก็เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อบทบาทแห่งวิวรณ์ (วะหฺยู) เช่นกัน ดั่งที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَإِنَّهُۥ لَتَنزِيلُ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ١٩٢ نَزَلَ بِهِ ٱلرُّوحُ ٱلۡأَمِينُ ١٩٣ عَلَىٰ قَلۡبِكَ لِتَكُونَ مِنَ ٱلۡمُنذِرِينَ ١٩٤   ﴾ [الشعراء  : 192-194]
ความว่า “และแท้จริงอัลกุรอานนั้น เป็นการประทานลงมาของพระเจ้าแห่งสากลโลก โดยที่อัรรูหฺ(ญิบรีล) ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมา ยังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง” (อัล-ชุอะรออ์ : 192-194)
อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า อบูสุฟยาน อิบนุ อุมัยยะฮฺได้เล่าให้ท่านฟังขณะที่ฮิร็อกลฺได้ถามเขาเกี่ยวกับท่านนบีว่าเขาเรียกร้องไปสู่สิ่งใด? ฉัน (อบูสุฟยาน) ตอบว่า เขาเรียกร้องไปสู่ให้ดำรงการละหมาด ให้มีความสัจจะ ให้รักษาความบริสุทธิ์ ให้รักษาสัญญา และให้มีความซื่อสัตย์ ฮิร็อกลฺจึงบอกฉันว่า นี่แหล่ะคือคุณลักษณะของการเป็นนบี” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หน้า 510 หมายเลข 2681 และมุสลิม  หน้า 736-737 หมายเลข 1773 )
อนึ่ง ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ เป็นคุณลักษณะของบรรดาผู้ศรัทธา ผู้ที่ได้รับความสำเร็จในชีวิต ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ قَدۡ أَفۡلَحَ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ١ ٱلَّذِينَ هُمۡ فِي صَلَاتِهِمۡ خَٰشِعُونَ ٢ وَٱلَّذِينَ هُمۡ عَنِ ٱللَّغۡوِ مُعۡرِضُونَ ٣ وَٱلَّذِينَ هُمۡ لِلزَّكَوٰةِ فَٰعِلُونَ ٤ وَٱلَّذِينَ هُمۡ لِفُرُوجِهِمۡ حَٰفِظُونَ ٥ إِلَّا عَلَىٰٓ أَزۡوَٰجِهِمۡ أَوۡ مَا مَلَكَتۡ أَيۡمَٰنُهُمۡ فَإِنَّهُمۡ غَيۡرُ مَلُومِينَ ٦ فَمَنِ ٱبۡتَغَىٰ وَرَآءَ ذَٰلِكَ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡعَادُونَ ٧ وَٱلَّذِينَ هُمۡ لِأَمَٰنَٰتِهِمۡ وَعَهۡدِهِمۡ رَٰعُونَ ٨ وَٱلَّذِينَ هُمۡ عَلَىٰ صَلَوَٰتِهِمۡ يُحَافِظُونَ ٩ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡوَٰرِثُونَ ١٠ ٱلَّذِينَ يَرِثُونَ ٱلۡفِرۡدَوۡسَ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ ١١ ﴾ [المؤمنون : ١- ١١]  
ความว่า “แน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาได้ประสบความสำเร็จแล้ว บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนในเวลาละหมาดของพวกเขา  และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้ผินหลังให้จากเรื่องไร้สาระต่างๆ และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้บริจาคซะกาต  และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้รักษาตนออกจากการผิดประเวณี เว้นแต่ต่อบรรดาภรรยาของพวกเขา หรือหญิงที่มือขวาของพวกเขาครอบครอง (คือทาสี) ในกรณีเช่นนั้นพวกเขาจะไม่ถูกตำหนิ  ฉะนั้นผู้ใดแสวงหานอกเหนือจากนั้น ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ละเมิด  และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้เอาใจใส่และรักษาต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมายและสัญญาของพวกเขา  และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้รักษาการละหมาดของพวกเขา  ชนเหล่านี้แหละพวกเขาเป็นทายาท ซึ่งพวกเขาจะได้รับมรดกสวนสวรรค์ชั้นฟิรเดาสฺ พวกเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล” (อัล-มุอ์มินูน : 1-11)

      และด้วยการมีอะมานะฮฺ (ความซื่อสัตย์) นี่เองจะเป็นปัจจัยในการปกปักษ์รักษาศาสนา  รักษาชื่อเสียง รักษาทรัพย์สิน รักษาวิญญาณ  รักษาวิชาความรู้ การปกครอง การทำพินัยกรรม การเป็นพยาน การตัดสินพิพากษา การจดบันทึก และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ إِنَّا عَرَضۡنَا ٱلۡأَمَانَةَ عَلَى ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ وَٱلۡجِبَالِ فَأَبَيۡنَ أَن يَحۡمِلۡنَهَا وَأَشۡفَقۡنَ مِنۡهَا وَحَمَلَهَا ٱلۡإِنسَٰنُۖ إِنَّهُۥ كَانَ ظَلُومٗا جَهُولٗا ٧٢ ﴾ [الأحزاب : ٧٢]  
ความว่า “แท้จริงเราได้นำเสนออะมานะฮฺ (บัญญัติอัล-อิสลาม) แก่ชั้นฟ้า แผ่นดิน และขุนเขาทั้งหลาย แต่พวกมันปฏิเสธจะแบกรับมันและกลัวต่อมัน (คือเป็นภาระอันหนักอึ้ง) ในขณะเดียวกันมนุษย์ที่เป็นผู้อธรรมและงมงายยิ่งได้แบกรับมันไว้ แท้จริงเขา (มนุษย์) เป็นผู้ที่อธรรมงมงายยิ่ง” ( อัล-อะหฺซาบ : 72 )    

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านได้ให้ความหมายโองการนี้ว่า “อัลลอฮฺได้นำเสนอแก่บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินให้ทำการเคารพภักดี และปฏิบัติติตามบทบัญญัติต่างๆ ของพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงตอบแทนให้อย่างสูง แต่หากว่าบกพร่องในหน้าที่พระองค์ก็จะลงโทษอย่างแสนสาหัสเช่นกัน สิ่งเหล่านั้นไม่ขอรับเนื่องจากกลัวว่าไม่สามารถปฏิบัติตามหน้าที่นั้นได้ ท่านนบีอาดัมผู้ซึ่งได้อธรรมต่อตนเอง และไม่รู้ว่าผลจะเป็นเช่นไรก็รับอะมานะฮฺอันนี้ไว้” (ตัฟซีรอัฎ-เฎาะบะรีย์ เล่ม 10 หน้า 339)  
    อิบนุญะรีรได้อธิบายสรุปว่า “ความหมายที่น่าจะดีที่สุดในการอธิบายคำว่า “อะมานะฮฺ” คือ การมีความซื่อสัตย์ในทุกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องราวต่างๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพราะอัลลอฮฺมิได้เจาะจงเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะ” (ตัฟซีรอัฎ-ฏ็อบรีย์ เล่ม 10 หน้า 342)
    อิหม่ามอัล-กุรฏุบีย์ กล่าวว่า บรรดานักอรรถาธิบายอัล-กุรอานส่วนใหญ่ให้ความหมายว่า “ความซื่อสัตย์ในที่นี่หมายรวมถึงทุกเรื่องราวของศาสนา” และบางท่านให้ความหมายว่า “ทุกอย่างที่อัลลอฮฺกำหนดให้ปวงบ่าวถือปฏิบัติเท่านั้นที่เป็นอะมานะฮฺ เช่น การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอด การชดใช้หนี้สิน และที่สำคัญยิ่งคือการได้รับความไว้วางใจ และที่สุดของความไว้วางใจคือการรักษาความลับ” (ตัฟซีรอัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 14 หน้า254-255)
    อิหม่ามอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ได้รายงานหะดีษจากชัดด๊าด บิน เอาส์ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«أَوَّلُ مَا تَفْقِدُوْنَ مِنْ دِيْنِكُمْ الأَمَانَةُ ، وَآخِرُهُ الصَّلَاةُ»  [رواه الطبراني في المعجم]
ความว่า “สิ่งที่จะขาดหายไปจากศาสนาของพวกท่าน คือ ความซื่อสัตย์ และสิ่งสุดท้าย คือ การละหมาด” (บันทึกโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ เล่ม : 9 หน้า : 353 หมายเลข : 9754)

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการที่ไม่มีความซื่อสัตย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณวันสิ้นโลก อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
أن رجلا سأل النبي صلى الله عليه وسلم عن الساعة ، فقال: «إِذَا ضُيِّعَتِ الأَمَانَةُ فَانْتَظِرِ السَّاعَةَ» ، قال : كيف إضاعتها ؟ قال : «إِذَا وُسِّدَ الأمرُ إِلَى غَيْرِ أَهْلِهِ فَانْتَظِرِ السَّاعَةَ» [رواه البخاري و مسلم]
ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเกี่ยวกับวันสิ้นโลก ท่านตอบว่า เมื่อผู้คนขาดความซื่อสัตย์ เมื่อนั้นแหล่ะจะใกล้วันสิ้นโลก เขาถามต่อว่า การขาดความซื่อสัตย์นั้นเป็นอย่างไร? ท่านตอบว่า เมื่อผู้คนมอบหมายภาระหน้าที่ให้กับผู้ที่ไม่มีความเหมาะสม เมื่อนั้นแหล่ะจะถึงวันสิ้นโลก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หน้า : 36 หมายเลข : 59)

หุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงสองประการ ซึ่งฉันได้เห็นประการหนึ่งแล้ว (คือการมีอะมานะฮฺ) และกำลังรอคอยอีกประการหนึ่ง (คือความไม่ซื่อสัตย์) ท่านกล่าวว่า
«أَنَّ الْأَمَانَةَ نَزَلَتْ فِي جَذْرِ قُلُوبِ الرِّجَالِ ثُمَّ عَلِمُوا مِنْ الْقُرْآنِ ثُمَّ عَلِمُوا مِنْ السُّنَّةِ» وَحَدَّثَنَا عَنْ رَفْعِهَا قَالَ  «يَنَامُ الرَّجُلُ النَّوْمَةَ فَتُقْبَضُ الْأَمَانَةُ مِنْ قَلْبِهِ فَيَظَلُّ أَثَرُهَا مِثْلَ أَثَرِ الْوَكْتِ، ثُمَّ يَنَامُ النَّوْمَةَ فَتُقْبَضُ فَيَبْقَى أَثَرُهَا مِثْلَ الْمَجْلِ، كَجَمْرٍ دَحْرَجْتَهُ عَلَى رِجْلِكَ فَنَفِطَ فَتَرَاهُ مُنْتَبِرًا وَلَيْسَ فِيهِ شَيْءٌ، فَيُصْبِحُ النَّاسُ يَتَبَايَعُونَ فَلَا يَكَادُ أَحَدٌ يُؤَدِّي الْأَمَانَةَ فَيُقَالُ إِنَّ فِي بَنِي فُلَانٍ رَجُلًا أَمِينًا، وَيُقَالُ لِلرَّجُلِ مَا أَعْقَلَهُ وَمَا أَظْرَفَهُ وَمَا أَجْلَدَهُ وَمَا فِي قَلْبِهِ مِثْقَالُ حَبَّةِ خَرْدَلٍ مِنْ إِيمَانٍ»، وَلَقَدْ أَتَى عَلَيَّ زَمَانٌ وَمَا أُبَالِي أَيَّكُمْ بَايَعْتُ لَئِنْ كَانَ مُسْلِمًا رَدَّهُ عَلَيَّ الْإِسْلَامُ وَإِنْ كَانَ نَصْرَانِيًّا رَدَّهُ عَلَيَّ سَاعِيهِ فَأَمَّا الْيَوْمَ فَمَا كُنْتُ أُبَايِعُ إِلَّا فُلَانًا وَفُلَانًا.  [رواه البخاري ومسلم]
ความว่า “อะมานะฮฺ (อีมาน) ซึ่งมนุษย์รับผิดชอบที่จะรักษามันไว้นั้น ได้เกิดขึ้นจากส่วนลึกของจิตใจ ทำให้พวกเขายึดมั่นปฏิบัติตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างเคร่งครัด” และท่านนบีได้พูดเกี่ยวกับการไม่มีอะมานะฮฺของผู้คนว่า “อะมานะฮฺจะออกจากจิตใจทีละนิดๆ ด้วยเวลาที่ไม่นานจนเหลือเพียงร่องรอยบางๆ ในเวลาต่อมาอะมานะฮฺที่เหลืออยู่เพียงร่องรอยก็จะหมดไปอย่างสิ้นเชิง ทิ้งไว้เสมือนรอยบวมของเท้าที่โดนถ่านไฟ เมื่อไม่มีอะมานะฮฺหลงเหลืออยู่เลย พวกเขาก็จะคดโกงกันในการซื้อขาย ผู้คนจะพากันสรรเสริญเยินยอต่อผู้เก่งกาจ ร่ำรวย มีศักดิ์ศรี ทั้งๆ ที่ผู้นั้นไม่มีอีมาน และมีนิสัยชั่วช้า คนดีมีอีมานกลับไม่มีใครสรรเสริญยกย่อง ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่ผู้คนมีอะมานะฮฺฉันไม่แยแสว่าจะเป็นใครก็ตามที่ฉันจะทำการซื้อขายกับเขา หากเขาเป็นมุสลิมเขาก็จะสมาคมกับฉันด้วยอิสลาม แต่หากเขาไม่ใช่มุสลิมเขาก็จะสมาคมกับฉันด้วยความสัจจะ แต่มาวันนี้ฉันไม่กล้าที่จะซื้อขายกับใครนอกจากคนที่ฉันเห็นว่าเขามีอะมานะฮฺเท่านั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 6496 และมุสลิม หมายเลข : 143)

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการไม่มีความซื่อสัตย์เป็นส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายของผู้กลับกลอก (นิฟาก) ท่านกล่าวว่า
«آيَةُ الْمُنَافِقِ ثَلَاثٌ إِذَا حَدَّثَ كَذَبَ وَإِذَا وَعَدَ أَخْلَفَ وَإِذَا اؤْتُمِنَ خَانَ»  [رواه البخاري ومسلم]
ความว่า “เครื่องหมายของผู้กลับกลอกมี 3 ประการ อันได้แก่ เมื่อพูดจาเขาจะโกหก เมื่อสัญญาเขาจะบิดพลิ้ว และเมื่อได้รับความไว้วางใจเขาจะไม่ซื่อสัตย์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 33 และมุสลิม หมายเลข : 55)
    
อนึ่ง อัลลอฮฺได้กล่าวถึงเรื่องของความซื่อสัตย์ (อัล-อะมานะฮฺ) ไว้ในอัล-กุรอานประกอบด้วย 3 นัยยะด้วยกัน มีดังนี้
หนึ่ง หมายถึง “ข้อกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆ”
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَخُونُواْ ٱللَّهَ وَٱلرَّسُولَ وَتَخُونُوٓاْ أَمَٰنَٰتِكُمۡ وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ ٢٧ ﴾ [الأنفال: ٢٧]  
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าทุจริตต่ออัลลอฮฺและเราะสูล และอย่าได้ทุจริตต่อการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงกำหนดแก่พวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าเป็นที่รู้กันอยู่” (อัล-อันฟาล : 27)

สอง หมายถึง “ของฝาก”
﴿ ۞إِنَّ ٱللَّهَ يَأۡمُرُكُمۡ أَن تُؤَدُّواْ ٱلۡأَمَٰنَٰتِ إِلَىٰٓ أَهۡلِهَا وَإِذَا حَكَمۡتُم بَيۡنَ ٱلنَّاسِ أَن تَحۡكُمُواْ بِٱلۡعَدۡلِۚ إِنَّ ٱللَّهَ نِعِمَّا يَعِظُكُم بِهِۦٓۗ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ سَمِيعَۢا بَصِيرٗا ٥٨ ﴾ [النساء : ٥٨]   
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮฺทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริงๆ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น” (อัล-นิสาอฺ : 58)

สาม หมายถึง “การมีจิตใจที่บริสุทธิ์ รักศักดิ์ศรี”
﴿إِنَّ خَيۡرَ مَنِ ٱسۡتَ‍ٔۡجَرۡتَ ٱلۡقَوِيُّ ٱلۡأَمِينُ ٢٦ ﴾ [القصص: ٢٦]   
ความว่า “แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์” (อัล-เกาะศ็อศ : 26)

และต่อไปนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างของการมีความซื่อสัตย์ อาทิเช่น
1.    การรักษาความลับระหว่างสามีภรรยา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ مِنْ أَشَرِّ النَّاسِ عِنْدَ اللَّهِ مَنْزِلَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ الرَّجُلَ يُفْضِي إِلَى امْرَأَتِهِ وَتُفْضِي إِلَيْهِ ثُمَّ يَنْشُرُ سِرَّهَا»  [رواه مسلم]
ความว่า “ในวันกิยามะฮฺผู้ที่ชั่วช้าที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือ ผู้ที่เปิดเผยความลับเรื่องการร่วมประเวณีกับภรรยาของเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 1437)
2.    การตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม ท่านอบูซัร – เราะฎิยัลลอฮุอันฮู - เล่าว่า ฉันได้ขอให้ท่านเราะสูลแต่งตั้งฉันให้รับภาระหน้าที่ในการปกครอง ท่านได้จับไหล่ของฉันพร้อมกับกล่าวว่า
« يَا أَبَا ذَرٍّ إِنَّكَ ضَعِيفٌ، وَإِنَّهَا أَمَانَةٌ، وَإِنَّهَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ خِزْيٌ وَنَدَامَةٌ، إِلاَّ مَنْ أَخَذَهَا بِحَقِّهَا وَأَدَّى الَّذِى عَلَيْهِ فِيهَا» [رواه مسلم]
ความว่า “โอ้อบูซัร ท่านนั้นอ่อนแอเกินกว่าที่จะแบกภาระหน้าที่นี้ได้ สิ่งนี้เป็นอะมานะฮฺและมันจะนำมาซึ่งความอัปยศอดสูในวันกิยามะฮฺ นอกจากผู้ที่มีความซื่อสัตย์ที่รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่อย่างเคร่งครัดเท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 1825)
3.    การมีความซื่อสัตย์ของผู้นำที่มีต่อผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชา
4.    การมีความซื่อสัตย์ของสามีต่อภรรยา
5.    ความรับผิดชอบของภรรยาในการดูแลบ้านเรือนและบรรดาลูกๆ ของสามี
6.    ความซื่อสัตย์ของผู้จัดการต่อเจ้าหน้าที่และพนักงานฝ่ายต่างๆ
7.    ความรับผิดชอบของพนักงานต่อภาระงานและหน้าที่ๆ ได้รับความไว้วางใจ
8.    ความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ต่อบรรดาสานุศิษย์

สรุปได้ว่าความซื่อสัตย์มีความเกี่ยวพันกับทุกๆ กิจการงานทั้งเรื่องศาสนาและเรื่องอื่นๆ ดังทัศนะของอิหม่ามอัล-กุรฏุบีย์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ดังนั้นคำว่า “อะมานะฮฺ” หรือความซื่อสัตย์จึงมีคำนิยามที่กว้างเกินกว่าจินตนาการของคนบางคนที่มองว่าอะมานะฮฺเป็นแค่ของฝากเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอะมานะฮฺของบุคคลๆ หนึ่งที่มีต่อศาสนาของเขานั้นหมายรวมถึงการปฏิบัติและรักษาหน้าที่ ฉะนั้นเวลาของมุสลิมก็ถือว่าเป็นอะมานะฮฺ เกียรติของเขาก็เป็นอะมานะฮฺ ทรัพย์สินก็เป็นอะมานะฮฺที่เขาจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษา การฟัง การมอง การพูดและอวัยวะทั้งหมดในร่างกายล้วนแล้วเป็นอะมานะฮฺที่เขาจะต้องดูแลเอาใจใส่ให้อยู่ภายใต้การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺอยู่อย่างสม่ำเสมอ
โอ้อัลลอฮฺขอพระองค์ทรงโปรดให้เราเป็นผู้ที่รักษาอะมานะฮฺด้วยเถิด และได้โปรดคุ้มครองเราให้รอดพ้นจากการทุจริต และจากคุณลักษณะที่ไม่ดีทั้งมวลด้วยเทอญ อามีน
        

والحمد لله رب العالمين ،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .